การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ด้วยข้อดีด้านความประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแม้จะเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้า ทว่าสิ่งที่เจ้าของรถจะต้องทำทุกปีก็คือ การต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งหลายคนอาจจะยังสงสัยว่ารถ EV ต้องเสียภาษีเท่าไร และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง แตกต่างจากรถที่ใช้น้ำมันหรือไม่ เราสรุปทุกเรื่องมาไว้ให้แล้วในบทความนี้
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2568 กรมการขนส่งทางบกจะลดภาษีรถยนต์ลง 80% ตามนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้า โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทรถ ดังนี้
น้ำหนักรถ | อัตราภาษีรถยนต์ลด 80% | อัตราภาษีรถยนต์ปกติ |
ไม่เกิน 500 กก. | 30 บาท | 150 บาท |
501 - 750 กก. | 60 บาท | 300 บาท |
751 - 1,000 กก. | 90 บาท | 450 บาท |
1,001 - 1,250 กก. | 160 บาท | 800 บาท |
1,251 - 1,500 กก. | 200 บาท | 1,000 บาท |
1,501 - 1,750 กก. | 260 บาท | 1,300 บาท |
1,751 - 2,000 กก. | 330 บาท | 1,600 บาท |
2,001 - 2,500 กก. | 380 บาท | 1,900 บาท |
2,501 - 3,000 กก. | 440 บาท | 2,200 บาท |
3,001 - 3,500 กก. | 480 บาท | 2,400 บาท |
3,501 - 4,000 กก. | 520 บาท | 2,600 บาท |
4,001 - 4,500 กก. | 560 บาท | 2,800 บาท |
4,501 - 5,000 กก. | 600 บาท | 3,000 บาท |
5,001 - 6,000 กก. | 640 บาท | 3,200 บาท |
6,001 - 7,000 กก. | 680 บาท | 3,400 บาท |
7,001 กก. ขึ้นไป | 720 บาท | 3,600 บาท |
หมายเหตุ : รถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
น้ำหนักรถ | อัตราภาษีรถยนต์ลด 80% | อัตราภาษีรถยนต์ปกติ |
ไม่เกิน 500 กก. | 15 บาท | 75 บาท |
501 - 750 กก. | 30 บาท | 150 บาท |
751 - 1,000 กก. | 45 บาท | 225 บาท |
1,001 - 1,250 กก. | 80 บาท | 400 บาท |
1,251 - 1,500 กก. | 100 บาท | 500 บาท |
1,501 - 1,750 กก. | 130 บาท | 650 บาท |
1,751 - 2,000 กก. | 160 บาท | 800 บาท |
2,001 - 2,500 กก. | 190 บาท | 950 บาท |
2,501 - 3,000 กก. | 220 บาท | 1,100 บาท |
3,001 - 3,500 กก. | 240 บาท | 1,200 บาท |
3,501 - 4,000 กก. | 260 บาท | 1,300 บาท |
4,001 - 4,500 กก. | 280 บาท | 1,400 บาท |
4,501 - 5,000 กก. | 300 บาท | 1,500 บาท |
5,001 - 6,000 กก. | 320 บาท | 1,600 บาท |
6,001 - 7,000 กก. | 340 บาท | 1,700 บาท |
7,001 กก. ขึ้นไป | 360 บาท | 1,800 บาท |
หมายเหตุ : รถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ให้เก็บภาษีกึ่งหนึ่งของรถยนต์ไฟฟ้านั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน
น้ำหนักรถ | อัตราภาษีรถยนต์ลด 80% | อัตราภาษีรถยนต์ปกติ |
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า | 10 บาท | 50 บาท |
หมายเหตุ : รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้เก็บภาษีกึ่งหนึ่งของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล
เอกสารที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ EV เหมือนกับรถยนต์ทั่วไป ซึ่งหากว่าเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ก็จะช่วยให้ทุกอย่างราบรื่น
• สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ (เล่มทะเบียน)
• พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
• สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ (เล่มทะเบียน)
• พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
• ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ไฟฟ้าจาก ตรอ.
ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าหรือว่ารถน้ำมัน การต่อภาษีจะต้องทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก่อนทุกครั้ง ซึ่งสามารถทำได้พร้อมกับตอนที่ต่อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจหรือซื้อแยกก็ได้เช่นเดียวกัน
ปัจจุบันการต่อภาษีรถยนต์มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และสามารถจ่ายได้หลากหลายช่องทาง ทั้งออนไลน์ และออนไซต์ ดังต่อไปนี้
• สำนักงานขนส่งทุกสาขา โดยนำเอกสารและเงินไปชำระได้เลย
• เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th
• แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
• บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
• ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
• ผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือที่ทำการไปรษณีย์
• แอปพลิเคชัน mPay / True Money Wallet
ไม่ว่าจะใช้รถยนต์ประเภทไหน หากต้องการชำระภาษีล่วงหน้าสามารถทำได้ แต่ไม่เกิน 90 วันก่อนครบกำหนด ในทางกลับกัน หากว่าจ่ายภาษีล่าช้าจะมีค่าปรับ 1% ต่อเดือนจากยอดภาษี และหากนำรถคันดังกล่าวไปใช้งานทั้งที่ยังไม่ต่อภาษี อาจจะถูกปรับสูงสุด 10,000 บาท จึงควรวางแผนและจ่ายภาษีล่วงหน้าจะดีกว่า
ในกรณีที่ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี เจ้าของรถจะต้องทำการขอทะเบียนใหม่ เนื่องจากทะเบียนรถคันดังกล่าวจะถูกระงับ ซึ่งจะต้องจ่ายภาษีย้อนหลังสูงสุด 3 ปี พร้อมค่าปรับ 1% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ และต้องเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนรถใหม่ และแผ่นป้ายทะเบียนใหม่อีกด้วย
ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าน่าใช้หลากหลายรุ่นให้เลือกบริการ และรัฐบาลก็มีนโยบายลดภาษีอย่างต่อเนื่อง จึงช่วยทั้งสิ่งแวดล้อมและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้งาน
สำหรับใครที่สนใจซื้อรถไฟฟ้า สามารถเลือกซื้อได้ที่ EVme และนัดหมายเพื่อทดลองขับได้เลย
พิเศษเฉพาะลูกค้าที่ซื้อรถไฟฟ้ากับ EVme
• ดาวน์ต่ำ ผ่อนชำระนาน 84 เดือน
• รับรถทดแทนหากมีปัญหาจากการใช้งานตัวรถ*
• ผู้ช่วยบนท้องถนน 24 ชั่วโมง กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
*เงื่อนไขกรณีที่รถมีปัญหาจากตัวรถและการใช้งาน ไม่ครอบคลุมเรื่องอุบัติเหตุทางท้องถนน
ข้อมูลอ้างอิง
1. ขั้นตอนชำระภาษีรถประจำปี สะดวก รวดเร็ว อยู่ที่ไหนก็ทำได้. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2568 จาก https://safedrivedlt.com/ชำระภาษีรถออนไลน์/
2. อัตราค่าธรรมเนียมและบัญชีอัตราภาษี. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2568 จาก https://www.dlt.go.th/th/yearly-tax/75/?embed=true